หลักการพื้นฐานการทำ Animation
การสร้างงานแอนิเมชันถือว่าเป็นสิ่งที่ต้องใช้ความสามารถในระดับหนึ่ง นอกจากเรื่องความสามารถแล้วการพยายามศึกษารายละเอียดการทำต่างๆ ก็เป็นเรื่องสำคัญไม่น้อยเพราะยิ่งมีความรู้มากเท่าไหร่นั่นก็เท่ากับว่ายิ่งทำให้สามารถสร้างงานออกมาได้ดีมากขึ้นเท่านั้น เหนือสิ่งอื่นใดการมีความพื้นฐานก่อนจะทำเป็นสิ่งที่ควรต้องเรียนรู้อย่างมากเพื่อให้การสร้างงานแอนิเมชันออกมาน่าสนใจและเป็นไปอย่างที่ควรจะเป็น
หลักพื้นฐานในการสร้างงานแอนิเมชัน
- เวลา – การเคลื่อนไหวทุกอย่างจะมีเวลาเป็นของตัวเอง ซึ่งระยะเวลาของการเคลื่อนไหวแต่ละอย่างก็จะต่างกันออกไป ทำให้เราจำเป็นต้องรู้ว่าระยะเวลาในการเคลื่อนไหวแต่ละอย่างควรใช้เวลาเท่าไหร่ กี่วินาทีหรือกี่เฟรมซึ่งสิ่งเหล่านี้จำเป็นต้องใช้การสังเกต
- อัตราเร็ว อัตราเร่ง – จริงๆ แล้วจะเกี่ยวข้องกับกฎฟิสิกส์จะช่วยในเรื่องของการบอกน้ำหนักในส่วนของการเคลื่อนไหวว่าตรงจุดไหนควรใช้อัตราอย่างไร
- การเคลื่อนไหวที่เป็นเส้นโค้ง – การเคลื่อนที่แทบทุกอย่างจะเป็นการเคลื่อนที่แบบเส้นโค้ง หากลองถ่ายวีดีโอแล้วเอามาตัดดูทีละเฟรมจะเห็นได้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น
- Anticipation – เวลาจะทำอะไรต้องมีการเตรียมเริ่มต้นเสมอ เช่น ก่อนการกระโดดไม่มีทางที่จะยืนขาตรงเพื่อกระโดด ต้องทำการงอเข่าไม่มากก็น้อย
- การกระทำที่เกินจริง – จะบอกว่าเป็น Overacting ก็ได้ เป็นสิ่งที่บ่งบอกความรู้สึกของตัวละครได้ดี ส่วนใหญ่การ์ตูนจะนิยมใช้อย่างมาก
- การหดตัว-การยืดตัว – ให้ลองนึกถึงลูกบอลที่กระเด้งกับพื้น เมื่อลูกบอลกระทบพื้นลูกบอลจะบี้จากแรงอัดและเมื่อลอยกลางอากาศก็ยืดออก
- การกระทำรอง – เป็นการเคลื่อนที่รอง อาทิ เวลาการ์ตูนเดินไปการเคลื่อนไหวที่ชัดเจนคือแขน ขา แต่การเคลื่อนไหวรอง คือ ผมที่โดนลมพัดจากการเดิน เสื้อผ้าที่พลิ้วไหว เป็นต้น
- Follow Through and Overlapping Action – จะแบ่งแยกเป็น Follow Through คือการกระทำที่เป็นผลมาจากการกระทำหลักและ Overlapping action คือการกระทำที่ส่งทอดมาจากแรง
- Straight Ahead Action and Pose-To-Pose Action – จะแบ่งแยกเป็น Straight Ahead Action คือการกระทำที่ทำกันทีละเฟรม กับ Straight Ahead Action คือ การกระทำแบบใช้คีย์เฟรม
- ท่าทางการแสดง – คือการสร้างคาแร็กเตอร์ของตัวละครโดยต้องดูว่าออกมาดีหรือไม่ดีและสามารถปรับปรุงแก้ไขได้หรือไม่
- เสน่ห์ดึงดูด – เสน่ห์ของตัวละครที่สามารถดึงดูดให้คนหันมาสนใจได้ โดยพยายามสร้างในสิ่งที่คนดูคิดว่ามันน่าสนใจหรืออยากเห็นอีก
- ลักษณะบุคลิก – เหมือนกับคนบนโลกใบนี้ที่ไม่มีทางเหมือนกันการ์ตูนเองก็เช่นเดียวกัน ควรเลือกสร้างให้มีบุคลิกเฉพาะตัวจะช่วยให้เกิดการจดจำ